ค้นเจอ 40 รายการ

คนละ

หมายถึงว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม.

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

ต่าง

หมายถึงส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น คนทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่ของตน, ในบทกลอนใช้ว่า ตาง ก็มี. ว. ผิดแผก, ไม่เหมือนเดิม, เช่น สีต่างไป; แทน, เหมือน, เช่น ว่าต่าง แก้ต่าง ดูต่างหน้า; อื่น เช่น ต่างประเทศ; คนละ เช่น ต่างพ่อ ต่างแม่.

คนละไม้คนละมือ

หมายถึง(สำ) ต่างคนต่างช่วยกันทำ.

ผิดฝาผิดตัว

หมายถึงว. ไม่เข้าชุดกัน, ไม่เข้าคู่กัน, คนละพวก คนละฝ่าย

แยกแย้ง

หมายถึงก. แยกไปคนละทาง, ไม่ลงรอยกัน.

พายเรือคนละที

หมายถึง(สำ) ก. ทำงานไม่ประสานกัน.

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ตรงกันข้าม

หมายถึงว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดำ ดีกับชั่ว.

หมุบหมับ

หมายถึงว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ, บางทีก็ใช้แยกกัน เช่นคว้าคนละหมุบคนละหมับ.

แยกย้าย

หมายถึงก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.

ถือเขาถือเรา

หมายถึงก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเราถือเขา ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ