ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ปริภูมิ, เศษเกิน, เส้นบังคับ, เส้นรอบวง, เส้นรัศมี, แปรผันโดยตรง, แปรผันแบบผกผัน, กำลัง, คู่ลำดับ, ดัชนี
คณิต,คณิต-
หมายถึง[คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคำนวณ, วิชาคำนวณ, มักใช้เป็นคำหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
ปริภูมิ
หมายถึง[ปะริพูม] (คณิต) น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้างแบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).
เศษเกิน
หมายถึง(คณิต) น. จำนวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น .
เส้นบังคับ
หมายถึง(คณิต) น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, เดิมใช้ว่า ไดเรกตริกซ์.
เส้นรอบวง
หมายถึง(คณิต) น. เส้นโค้งที่เป็นแนวขอบทั้งหมดของรูปวงกลมหรือของวงรี.
เส้นรัศมี
หมายถึง(คณิต) น. เส้นตรงที่เชื่อมจุดศูนย์กลางของวงกลมกับจุดใด ๆ บนเส้นรอบวง.
เรขาคณิต
หมายถึง(คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
เรขาคณิตวิเคราะห์
หมายถึง(คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซตของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
แปรผันโดยตรง
หมายถึง(คณิต) ก. ลักษณะที่จำนวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จำนวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
แปรผันแบบผกผัน
หมายถึง(คณิต) ก. ลักษณะที่จำนวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จำนวนที่ ๒ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน หรือเมื่อจำนวนที่ ๑ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จำนวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
กำลัง
หมายถึงน. (คณิต) เลขชี้กำลังที่เขียนลงบนจำนวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกำลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกำลัง ; (ฟิสิกส์) จำนวนงานที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทำได้โดยสมํ่าเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กำลังเท่ากับ , อัตราของการทำงาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกำลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกำลัง (วัดรอบลำต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
คู่ลำดับ
หมายถึง(คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคำนึงถึงการเรียงลำดับก่อนหลังเป็นหลักสำคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).