ตัวกรองผลการค้นหา
ข้ออ้าง
หมายถึงน. สิ่งที่นำมาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทำของตน.
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2)
คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย
กริยา 3 ช่อง a-z พร้อมคำแปล (ไฟล์ pdf)
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
ข้อง
หมายถึงน. เครื่องจักสานสำหรับใส่ปลา ปู เป็นต้น รูปคล้ายตะกร้าปากแคบอย่างคอหม้อดิน ก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดต่าง ๆ.
หมายถึงก. ติดอยู่.
ปลาข้องเดียวกัน
หมายถึง(สำ) น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน.
อ้าง
หมายถึงก. ระบุ, บ่งถึง, เช่น อ้างพยาน; กล่าวถึง, ชี้เป็นหลัก, เช่น อ้างบาลี; ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ.
หา
หมายถึงว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
หมายถึงก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
หาเศษหาเลย
หมายถึง(สำ) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไปจ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไปหาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่
หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
คดในข้องอในกระดูก
หมายถึง(สำ) ว. มีสันดานคดโกง.
เจ้าตัว
หมายถึงน. ตัวของผู้ที่ถูกอ้างถึง.
หาเหตุ
หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.