ค้นเจอ 18 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กฎอัยการศึก

จราจร

หมายถึง[จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.

สัญญาณจราจร

หมายถึง(กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.

ผิวจราจร

หมายถึงน. ผิวถนนที่ยวดยานพาหนะแล่นไปมา.

ไหล่ถนน,ไหล่ทาง

หมายถึงน. ส่วนของถนนที่ติดอยู่กับทางจราจรทั้ง ๒ ข้าง.

ถนนลาดยาง

หมายถึงน. ถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้น.

สารวัตร

หมายถึง[สาระวัด] น. ผู้ตรวจงานทั่วไป เช่น สารวัตรจราจร สารวัตรปราบปราม.

สอบใบขับขี่

หมายถึงก. สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถขับขี่ยานยนต์ได้.

ลาดยาง

หมายถึงน. เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้นว่า ถนนลาดยาง.

ทางพิเศษ

หมายถึง(กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ.

ทางหลวง

หมายถึง(กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.

สัญญาณ

หมายถึงน. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็นสัญญาณให้พระลงโบสถ์.

ลูกระนาด

หมายถึงว. เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูกระนาดหรือลูกคลื่นว่า ถนนเป็นลูกระนาด, ถนนเป็นลูกคลื่น ก็ว่า, เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอันว่า สะพานลูกระนาด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ