ค้นเจอ 12 รายการ

กลั้น

หมายถึง[กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.

อด

หมายถึงก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดำนํ้าอด.

อั้น

หมายถึงก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กำหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กำหนดจำนวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้นทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.

อัด

หมายถึงก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.

อำนด

หมายถึง[-หฺนด] (กลอน) ก. กลั้น, งดเว้น, ไม่ได้, ไม่ได้สมหวัง; ไม่มีอะไรจะกิน. (แผลงมาจาก อด).

ดากลั้นเยี่ยว

หมายถึงดู ดา ๑.

เหลืออด,เหลืออดเหลือทน

หมายถึงว. สุดที่จะกลั้นได้, สุดที่จะอดทนได้, สุดที่จะระงับอารมณ์ได้.

อึดใจ

หมายถึงน. เวลาชั่วกลั้นลมหายใจไว้คราวหนึ่ง.

ช้ำรั่ว

หมายถึงน. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทำให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออกเป็นครั้งคราวหรือตลอดเวลาก็ได้.

สุด

หมายถึงก. สิ้น เช่น สุดกระแสความ สุดความ, หมด เช่น รักสุดหัวใจ, จบ เช่น สุดสายรถประจำทาง. ว. ปลายหรือท้าย เช่น สุดแดน สุดแผ่นดิน ในที่สุด, ปลายทางใดทางหนึ่ง เช่น เหนือสุด ขวาสุด บนสุด; อย่างมาก, อย่างยิ่งยวด, เช่น สุดรัก สุดเสียดาย สุดอาลัย, เต็มที่เต็มกำลัง, เช่น สู้จนสุดชีวิต งานนี้เขาทุ่มจนสุดตัว; เกินกว่าจะทำได้ เช่น สุดกลั้น สุดไขว่คว้า สุดทน.

สะกด

หมายถึงก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคำที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).

ดา

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้านหลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตำกับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้ายแมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นำมาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลำตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ