ตัวกรองผลการค้นหา
บ้อง
หมายถึงน. ปล้องไม้จำพวกไม้ไผ่ที่ขังข้อ; สิ่งที่เป็นช่องคล้ายกระบอก เช่น ช่องสำหรับสวมด้ามขวานหรือสิ่วเป็นต้น, ลักษณนามเรียกการสูบกัญชาหมดครั้งหนึ่งว่า บ้องหนึ่ง.
"กะเทย" กับ "กระเทย" คำไหนที่ถูกต้อง
กะเพรา กระเพรา กะเพา เขียนอย่างไรจึงจะมีความหมายถูกต้อง
คำไวพจน์: เต่า - คำไวพจน์ของ เต่า พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำสุภาพที่ควรรู้ คู่กับคำราชาศัพท์
จอบ
หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างเปราะ รูปร่างคล้ายซองพลู ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาลอมเทา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Pinna bicolor, Atrina vexillum, ซองพลู ก็เรียก.
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.
หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทำด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
ลงจอบ
หมายถึงก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
กระ
หมายถึงน. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
หมายถึงน. ชื่อเต่าทะเลชนิด Eretmochelys imbricata ในวงศ์ Cheloniidae หลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุงหลังคาสีนํ้าตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็นพาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐ ฟอง. (ข. กราส่).
ซองพลู
หมายถึงดู จอบ ๓.
กระเกรียบ,-กระเกรียบ
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.
กระเดก,-กระเดก
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระโดก เป็น กระโดกกระเดก.