ค้นเจอ 14 รายการ

กมล-

หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).

กมล

หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).

กมล

หมายถึง[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).

ภัทร,ภัทร-,ภัทระ

หมายถึง[พัดทฺระ-] ว. ดี, เจริญ, ประเสริฐ, งาม, น่ารัก, เป็นมงคล. (ส. ภทฺร; ป. ภทฺท, ภทฺร).

กระมล

หมายถึง[-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.

โกมล

หมายถึงน. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป. กมล).

กมลาศ

หมายถึง[กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).

กมลาสน์

หมายถึง[กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).

กำลุง

หมายถึง(แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กำลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).

โควิถี

หมายถึงน. ชื่อทางสำหรับโคจรของพระอาทิตย์. (ส. โควิถี = โคจรของพระจันทร์ที่ผ่านดาวฤกษ์ภัทรปทา เรวดี และอัศวินี).

ภัทรบทมาส

หมายถึง[พัดทฺระบดทะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ภัทรปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.

โปฐปทมาส

หมายถึง[โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตรโปฐปทา คือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน. (ป. โปฏฺปทมาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ