ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กมล-, กมลา, กมล
กมล-
หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กมล
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
หมายถึง[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
กระมล
หมายถึง[-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.
พันธ,พันธ-,พันธ์,พันธะ
หมายถึง[พันทะ-] ก. ผูก, มัด, ตรึง. (ป., ส.). น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน
โกมล
หมายถึงน. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป. กมล).
กมลาศ
หมายถึง[กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).
กมลาสน์
หมายถึง[กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
กำลุง
หมายถึง(แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กำลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
กมเลศ
หมายถึง[กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
กมลา
หมายถึง[กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
หม่อม
หมายถึงน. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตรชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คำนำหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตำแหน่ง, คำนำหน้าชื่อหญิงสามัญซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาคทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คำนำหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมีตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.