ค้นเจอ 59 รายการ

สายเอก

หมายถึงน. สายสมอเรือสำเภา ทำด้วยเชือกเหนียวกว่าเชือกอื่น สำหรับลงสมอเมื่อพายุแรง; เรียกสายเครื่องดนตรีที่เป็นเสียงสูงว่า สายเอก, ส่วนสายที่มีเสียงรองลงมาเรียกว่า สายทุ้ม.

เสาเอก

หมายถึงน. เสาเรือนต้นแรกที่ยกขึ้นตามฤกษ์ในการปลูกเรือน มักนิยมตั้งไว้ทางทิศตะวันออก.

ระนาดเอก

หมายถึงน. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล.

เอกจิต

หมายถึง[เอกะ-] น. ความคิดจำเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิดอันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).

เอกเทศ

หมายถึง[เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.

เอกภักดิ์

หมายถึง[เอกกะ-] ว. จงรักต่อคนคนเดียว, ซื่อตรง.

เอกภาคี

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.

เอกภาพ

หมายถึง[เอกกะ-] น. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; ความสอดคล้องกลมกลืนกัน. (อ. unity).

เอกรรถประโยค

หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.

เอกรส

หมายถึง[เอกกะ-] น. รสอันเอก ได้แก่ วิมุตติรส คือ รสที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส. (ป.).

เอกราช

หมายถึง[เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.

เอกลักษณ์

หมายถึง[เอกกะ-] น. ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน; (คณิต) ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ สำหรับทุกค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ. (อ. identity).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ