ค้นเจอ 44 รายการ

หัวคลองท้ายคลอง

หมายถึงว. ทั่วทั้งคลอง.

น้ำนอนคลอง

หมายถึงน. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะมีนํ้าหนุนขึ้นมา.

กลอง

หมายถึง[กฺลอง] น. เครื่องตีทำด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรำมะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.

กลอง

หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.

คลอง

หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.

จระเข้ขวางคลอง

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก.

ฉลอง

หมายถึง[ฉะหฺลอง] ก. แทน, ทดแทน, เช่น ฉลองคุณ.

ฉลอง

หมายถึง[ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).

ประลอง

หมายถึงก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกำลัง ประลองความเร็ว.

เสียงเท่าฟ้าหน้าเท่ากลอง

หมายถึง(สำ) น. เสียงอึกทึกครึกโครมแสดงว่ามีความสนุกสนานร่าเริงเต็มที่, เสียงดังมาก.

ลอง

หมายถึงก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสมหรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.

ลำลอง

หมายถึงว. ตามสบาย, ตามอำเภอใจ, (ใช้แก่การแต่งกายซึ่งไม่ต้องให้เป็นไปตามแบบ) เช่น แต่งตัวลำลอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ