ตัวกรองผลการค้นหา
สัมภัต,สัมภัตตะ
หมายถึงน. ผู้ร่วมคบหากัน, เพื่อนร่วมกินร่วมนอน. (ป. สมฺภตฺต; ส. สมฺภกฺต).
อาคันตุกภัต
หมายถึงน. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุที่จรมา. (ป. อาคนฺตุกภตฺต).
ปัจฉาภัต
หมายถึงน. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป. (ป.).
ภัต,ภัต-,ภัตร
หมายถึง[พัด, พัดตะ-, พัด] น. อาหาร, ข้าว. (ป. ภตฺต).
สลากภัต
หมายถึง[สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต).
ภัตตาหาร
หมายถึงน. อาหารสำหรับภิกษุสามเณรฉัน. (ป. ภตฺต + อาหาร).
ภาษามีวิภัตติปัจจัย
หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
มตกภัต
หมายถึง[มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทำบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต).
นิตยภัต
หมายถึงน. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์. (ส. นิตฺย + ป. ภตฺต).
สังฆภัต
หมายถึงน. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติทายกนำอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทำอปโลกนกรรมแบ่งกัน. (ป.).
วิภัตติ
หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
ภัตกิจ
หมายถึงน. การกินอาหาร.