ตัวกรองผลการค้นหา
พฤติการณ์
หมายถึงน. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไปในเวลากระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.
มาตราพฤติ
หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
พฤต
หมายถึง[พฺรึด] น. คำฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
พฤตินัย
หมายถึง(กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
วรรณพฤติ
หมายถึง[วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
พฤติ,พฤติ-
หมายถึง[พฺรึด, พฺรึดติ-] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะความเป็นอยู่, อาชีวะ; คำฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
พฤติกรรม
หมายถึงน. การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
บัฐยาพฤต
หมายถึง[บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
ประพฤติ
หมายถึง[ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน, การทำตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทำตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทำ, ดำเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).