ค้นเจอ 30 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา อนิยม,อนิยม-, นิยม

ประสบการณ์นิยม

หมายถึง[ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).

คตินิยม

หมายถึงน. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).

จักรวรรดินิยม

หมายถึง[-หฺวัดนิยม] น. ลัทธิขยายอาณาเขตและอำนาจปกครองของรัฐ. (อ. imperialism).

นิยัตินิยม

หมายถึง[นิยัดติ-] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทำทุกอย่างของมนุษย์หรือเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).

วัตถุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.

สัญนิยม

หมายถึง[สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มสังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).

จิตนิยม

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).

จุดทศนิยม

หมายถึงน. จุดที่ใส่หลังจำนวนเต็มและหน้าเศษตามวิธีทำเลขแบบทศนิยม.

ทุทรรศนนิยม,ทุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การมองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).

ธรรมนิยม

หมายถึงน. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.

นิยม

หมายถึง(แบบ) น. การกำหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำมีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.

อนุรักษนิยม

หมายถึง[อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ