ค้นเจอ 11 รายการ

มิจฉาทิฐิ

หมายถึงน. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).

ทิฐธรรม

หมายถึง(แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺธมฺม).

สัสตทิฐิ

หมายถึงน. ลัทธิที่ถือว่าโลกและวิญญาณเป็นของเที่ยงไม่เสื่อมสูญ. (ป. สสฺสตทิฏฺ).

อุจเฉททิฐิ

หมายถึง[อุดเฉทะ-] น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณหรือการเกิดใหม่). (ป. อุจฺเฉททิฏฺ).

อเหตุกทิฐิ

หมายถึง[อะเหตุกะทิดถิ] น. ความเห็นว่าบาปบุญในโลกไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เป็นความเห็นของเดียรถีย์พวกหนึ่ง. (ป. อเหตุกทิฏฺ).

สักกายทิฐิ

หมายถึงน. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ;).

มฤจฉาทิฐิ

หมายถึงน. มิจฉาทิฐิ, ความเห็นผิดทางธรรม.

สันทิฐิก,สันทิฐิก-

หมายถึง[สันทิดถิกะ-] (แบบ) ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง. (ป. สนฺทิฏฺิก; ส. สานฺทฺฤษฺฏิก).

สัมมาทิฐิ

หมายถึงน. ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺิ).

ทิฏฐะ,ทิฐ,ทิฐ-

หมายถึง[ทิดถะ-] (แบบ) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ; ส. ทฺฤษฺฏ).

ทิฐิ

หมายถึง[ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺิ; ส. ทฺฤษฺฏิ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ