ตัวกรองผลการค้นหา
วาจก
หมายถึงน. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).
ประกาศผลการร่วมกิจกรรมแจกสติกเกอร์ครั้งที่ 1
แจกกริยา 3 ช่อง ที่ใช้บ่อย ท่องจำง่าย พร้อมคำแปล
สูจกะ
หมายถึง[-จะกะ] น. ผู้ชี้แจง; ผู้นำจับ; ผู้ส่อเสียด. (ป., ส.).
ยาจก,ยาจนก
หมายถึง[-จก, -จะนก] น. คนขอทาน. (ป., ส.).
หัวโจก
หมายถึงน. หัวหน้าผู้ประพฤติเกกมะเหรก. ว. เป็นโจกกว่าเพื่อน.
ธัญเบญจก
หมายถึง[ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ-ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ-ข้าวเปลือก ๓. ศูก-ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี-ถั่ว ๕. กฺษุทฺร-ข้าวกษุทร. (ป. -ปญฺจก).
นรกจกเปรต
หมายถึงน. คนที่เหี้ยมโหด คล้ายกับเปรตมาจากนรก.
เบญจกัลยาณี
หมายถึงน. หญิงมีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม (คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิวงาม ๕. วัยงาม (คือ ดูงามทุกวัย). (ป. ปญฺจกลฺยาณี).
ปัจเจกสมาทาน
หมายถึง[ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละสิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).
พัญจก
หมายถึง[พันจก] น. ผู้ล่อลวง. (ป., ส. วญฺจก).
มัญจกะ,มัญจา
หมายถึง[มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).
กระจกเงา
หมายถึงน. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อนกลับได้.
กระยาจก
หมายถึง(ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก).