ตัวกรองผลการค้นหา
กฤด,กฤด-
หมายถึง[กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).
กฤดา,กฤดาการ
หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
กฤดยาเกียรณ
หมายถึง[กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
กฤดาญชลี
หมายถึง[กฺริดานชะลี] ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี = มีกระพุ่มมืออันทำแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎา กฤษฎาญ กฤษฎาญชลี กฤษฎาญชุลี กฤษฎาญชลิต กฤษฎาญชวลิตวา กฤษฎาญชวลิศ กฤษฎาญชวเลศ.
กฤดาธิการ
หมายถึง[กฺริดาทิกาน] น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
กฤดาอัญชลี
หมายถึง[กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคำจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร. (ตำราช้างคำฉันท์).
กฤดิ
หมายถึง[กฺริดดิ] (โบ; กลอน) น. เกียรติ เช่น วรกฤดิโอฬาร. (ชุมนุมตำรากลอน). (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ).
กฤดาภินิหาร
หมายถึง[กฺริดาพินิหาน] น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอภินิหารที่ทำไว้, (ส.; ป. กตาภินิหาร), ในบทกลอนใช้แผลงเป็น กฤษฎา หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี.
กฤดายุค
หมายถึง[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
กฤดีกา,กฤตยฎีกา
หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).