ค้นเจอ 126 รายการ

หดหู่

หมายถึงก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรมแล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.

อารมณ์

หมายถึงน. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).

สอบอารมณ์

หมายถึงก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.

สติอารมณ์

หมายถึงน. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).

สะเทือนอารมณ์

หมายถึงก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.

หนาวอารมณ์

หมายถึงว. รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ.

สบายอารมณ์

หมายถึงว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไปอย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.

เสียอารมณ์

หมายถึงก. หงุดหงิด เช่น รถติดมากเลยทำให้เสียอารมณ์.

อดกลั้น

หมายถึงก. ระงับอารมณ์.

ใจเฉื่อย

หมายถึงว. มีอารมณ์เฉื่อยชา, ไม่กระตือรือร้น.

ฝันเฟื่อง

หมายถึงก. คิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์.

หย่อนใจ,หย่อนอารมณ์

หมายถึงก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ