ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ประกิต, แหนง, ลง

แจ้งความ

หมายถึงก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.

ประกิต

หมายถึง(แบบ) ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. (ส.).

โฆษณาการ

หมายถึงน. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).

ตราสิน

หมายถึงก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือพิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.

จองกฐิน

หมายถึงก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า.

แจ้ง

หมายถึงก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.

ยืนยัน

หมายถึงก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี.

อนุญาต

หมายถึงยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺญาต)

ยัง

หมายถึงคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

กฐิน

หมายถึง[กะถิน] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

กฐิน-

หมายถึง[กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ