ค้นเจอ 443 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา แกงร้อน, วุ้นเส้น, แสบร้อน, แก้ฟ้อง

แก้

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).

แก้

หมายถึงก. ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทำให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทำให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.

แก้ขวย,แก้เขิน

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.

ร้อนที่

หมายถึง(ปาก) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่ติดที่ไม่ได้.

ร้อน

หมายถึงว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวนกระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.

แก้เคล็ด

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.

แก้ผ้า

หมายถึงก. เอาผ้าที่นุ่งอยู่ออกจากตัว, เปลือยกายไม่นุ่งผ้า, เช่น เด็กนอนแก้ผ้า เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.

แก้ฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.

แก้เชิง

หมายถึงก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิงหรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.

ร้อนใจ,ร้อนอกร้อนใจ

หมายถึงก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.

ยิ้มแก้เก้อ,ยิ้มแก้ขวย

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.

ร้อนวิชา

หมายถึง(สำ) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็นปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิดปรกติวิสัย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ