ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทีฆสระ, อ, รัสสระ, เอ,เอ,เอ๊, เอ, ทุ, บทดอกสร้อย, สักวา, ย้าย, เยอ
เออ
หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คำที่เปล่งออกมาแสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
เออ ๆ คะ ๆ
หมายถึงก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราวโดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
ทีฆสระ
หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
อ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
กระเอิก
หมายถึง(กลอน) ว. เอิกเกริก เช่น พลเกรอกกระเออกอึง. (สรรพสิทธิ์).
กิดาการ
หมายถึงน. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).