ตัวกรองผลการค้นหา
ยามิก
หมายถึงน. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
เทคนิคจำศัพท์ - ตอนที่ 2 : Number Prefixes
เทคนิคจำศัพท์ - ตอนที่ 4 : Locative prefixes
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
วันลอยกระทง
เฝ้ายาม
หมายถึงก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา.
ยาม,ยาม-
หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
ยืนยาม
หมายถึงก. ยืนเฝ้ายาม.
พุโธ
หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
เรือยาม
หมายถึงน. เรือที่จัดให้อยู่เวรยาม เพื่อการเฝ้าตรวจ เช่น เรือยามเรดาร์ หรือเพื่อการใช้สอยทั่วไป เช่น เรือยามข้ามฟาก.
รวิ
ภุมโม
โสโร
หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยาม ในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
ชีโว
กลางคืน
หมายถึงน. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
เฝ้า
หมายถึงก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้าโทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.