ค้นเจอ 314 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา นวโลหะ, สัตโลหะ, เบญจโลหกะ

เบญจโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

เบญจ,เบญจ-,เบญจะ

หมายถึง[เบนจะ-] ว. ห้า, ลำดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

นวโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

สัตโลหะ

หมายถึง[สัดตะ-] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

ปัญจ,ปัญจ-

หมายถึง[ปันจะ-] (แบบ) ว. เบญจ. (ป.).

โลหะผสม

หมายถึงน. โลหะเจือ.

โวการ

หมายถึงน. ขันธ์ เช่น เบญจโวการ ว่า ขันธ์ ๕. (ป.).

โลหะเจือ

หมายถึงน. โลหะที่เกิดจากการผสมโลหะต่างชนิดกัน เช่น นาก ทองบรอนซ์, โลหะผสม ก็ว่า.

เหล็กกล้าไม่เป็นสนิม

หมายถึงน. เหล็กกล้าที่เจือโลหะโครเมียมหรือโลหะโครเมียมกับโลหะนิกเกิล บางชนิดมีซิลิคอนเจือปนด้วย.

โลห,โลห-,โลหะ

หมายถึง[โลหะ-] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคำ; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสำคัญ คือ เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นลวดได้ เมื่อนำมาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนบวก.

วัคคิยะ,วัคคีย์

หมายถึง[วักคิยะ] ว. อยู่ในพวก, อยู่ในหมู่, เช่น เบญจวัคคีย์ ว่า อยู่ในพวก ๕. (ป.).

ไล่ขี้

หมายถึงก. ขับขี้ตะกรันออกจากเนื้อโลหะโดยนำโลหะมาหลอม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ