ค้นเจอ 30 รายการ

เฉย

หมายถึงก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่าก็เฉย. ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เช่น นอนเฉย.

กะดอก ๆ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เปล่า ๆ, เฉย ๆ.

หน้าเฉยตาเฉย,หน้าตาเฉย

หมายถึงว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.

ดี ๆ

หมายถึงว. ปรกติ, เฉย ๆ, เช่น อยู่ดี ๆ ก็มีคนเอาเงินมาให้; โดยดี, ไม่ขัดขืน, เช่น มาเสียดี ๆ.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

นิษกรม

หมายถึง[นิดสะกฺรม] (แบบ; กลอน) ก. เฉย, ปราศจากกิริยา, เช่น ใจเน่งนิษกรม. (อนิรุทธ์). (ส.).

มิ

หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

เฉย ๆ

หมายถึงว. ใช้ประกอบข้อความหรือคำอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทำอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ทำมาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้าย เช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.

เมินเฉย

หมายถึงก. ไม่สนใจใยดี.

หน้าเฉย

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ใด ๆ.

นิ่งเฉย

หมายถึงว. เฉยอยู่ไม่พูดไม่ทำอะไร.

ร้อนอาสน์

หมายถึง(สำ) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่เฉยไม่ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ