ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อรหัง, อรพินท์, อรพิม, อารทรา,อทระ, จระเข้, นักษัตร, อรดี,อรติ, จรลวง,จรล่วง, จรลิ่ว, อรนุช
อจระ
หมายถึง[อะจะระ] ว. เคลื่อนไม่ได้, ไปไม่ได้. (ป., ส.).
ประกาศผลการร่วมกิจกรรมแจกสติกเกอร์ครั้งที่ 1
"สะเหล่อ" กับ "เสร่อ" คำไหนที่ถูกต้อง
อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ
คำไวพจน์: จระเข้ - คำไวพจน์ของ จระเข้ พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
จ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ.
จดูร,จดูร-
หมายถึง[จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
จตุรถ-
หมายถึง[จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
จตุร,จตุร-
หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
จัตุร,จัตุร-
หมายถึง[จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).
จตุ,จตุ-
หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
ตจ,ตจ-
หมายถึง[ตะจะ-] น. หนัง, เปลือกไม้. (ป.).
อาทิจจวาร
หมายถึงน. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า.
จริม,จริม-
หมายถึง[จะริมะ-] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.).
อ
หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.