ตัวกรองผลการค้นหา
หอคอย
หมายถึงน. อาคารสูงที่สร้างขึ้นสำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์.
คณะรัฐมนตรี
หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
นายกรัฐมนตรี
หมายถึง(กฎ) น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
คอย
หมายถึงน. หอสูงสำหรับดูเหตุการณ์ เรียกว่า หอคอย.
วงใน
หมายถึงว. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ข่าวนี้รู้มาจากวงในของราชการ เรื่องนี้พูดกันแต่วงในของคณะรัฐมนตรี, ตรงข้ามกับ วงนอก.
รัฐมนตรี
หมายถึง[รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.
องค์กร
หมายถึงน. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
คณะกรมการจังหวัด
หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
แล้วแต่
หมายถึงว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.
ราชกิจจานุเบกษา
หมายถึงน. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท.
การเมือง
หมายถึงน. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดำเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอำนวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตำแหน่งการเมือง ได้แก่ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงำ, มีการกระทำอันมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.