ค้นเจอ 18 รายการ

สาธก

หมายถึง[-ทก] ก. ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น. (ป.; ส. ว่า ช่วยทำ, ทำให้สำเร็จ).

โวหาร

หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).

พรรณนาโวหาร

หมายถึงน. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.

เทศนาโวหาร

หมายถึงน. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.

ตีสำนวน

หมายถึงก. พูดใช้สำนวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด.

วาทศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ประทับใจ. (อ. rhetoric).

เจ้าถ้อยหมอความ

หมายถึงน. ผู้ที่ชอบเอากฎหมายมาอ้าง, ผู้มักใช้โวหารพลิกแพลงไปในทางกฎหมาย.

กัปปิยโวหาร

หมายถึงน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.

ภาพพจน์

หมายถึง[พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

วาทศาสตร์

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

เกล้า

หมายถึง[เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ