ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สบจ, จีวร,จีวร-, ไตรจีวร, สบถ, สบง, สมณบริขาร, อัฐบริขาร, บริขาร, ผ้าไตร, ตรีจีวร, นิราศรพ, สบ
สบายใจ
หมายถึงว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจ ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.
สบู่
หมายถึง[สะ-] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Jatropha วงศ์ Euphorbiaceae คือ สบู่ขาว หรือ สบู่ดำ (J. curcas L.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียว และ สบู่แดง (J. gossypifolia L.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิดมียางใส เมล็ดนำไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ทุกส่วนเป็นพิษ.
หมายถึง[สะ-] น. สิ่งที่ผลิตขึ้นโดยนำไขสัตว์เช่นไขวัว หรือนํ้ามันพืชเช่นนํ้ามันมะพร้าวนํ้ามันมะกอกไปต้มกับด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สบู่แข็ง หรือนำไปต้มกับด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ จะได้สบู่อ่อน ใช้ชำระล้างและซักฟอก. (โปรตุเกส sapu).
สบประมาท
หมายถึงก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกดูหมิ่นซึ่ง ๆ หน้า เช่น เขาถูกสบประมาทในที่ประชุม, ประมาทหน้า.
สบจ
หมายถึง[สะบด] (แบบ) น. คนชาติตํ่าช้า. (ป. สปจ; ส. ศฺวปจ).
สบาย
หมายถึง[สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
สบายอารมณ์
หมายถึงว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไปอย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
สบถ
หมายถึง[สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
สบสังวาส
หมายถึงว. อยู่ร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกันร่วมทำสังฆกรรมด้วยกันได้ เรียกว่า สงฆ์สบสังวาส.
สบเสีย
หมายถึงก. ชอบพอ, โปรดปราน.
หมายถึงก. ดูถูก.
สบ
หมายถึงก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่น้ำตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วยซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).