ตัวกรองผลการค้นหา
ศิลปิน,ศิลปี
หมายถึง[สินละ-] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
100x100
หมายถึงโปรเจกต์ของ JOOX ที่จัดศิลปินลูกทุ่งร้อยล้านวิวมาจับคู่ร้องเพลงกับศิลปิลเพลงที่ต่างแนวกัน
จินตนิยม
หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
วิญญาณ
หมายถึงน. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).
สื่อ
หมายถึงก. ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน. น. ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน กุหลาบแดงเป็นสื่อของความรัก, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม.
เลือด
หมายถึงน. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคนและสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดงเกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการป่วยในระหว่างที่มีระดู; โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์; ผู้ที่เคยศึกษาจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
อาวุโส
หมายถึงว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคำ อาลปนะ คือ คำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).