ค้นเจอ 18 รายการ

วรรณกรรม

หมายถึงน. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย.

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

ศิลปะพื้นบ้าน

หมายถึงน. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.

วรรณศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.

วิจักษ์

หมายถึงน. ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรมและวรรณกรรม, ความนิยม, ความซาบซึ้ง, เช่น วรรณคดีวิจักษ์. (อ. appreciation).

ตัวละคร

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ.

หุ่นจีน

หมายถึงน. หุ่นชนิดหนึ่ง ทำเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีน มีทั้งชนิดครึ่งท่อนและเต็มตัว ใช้คนเชิดคนเดียว.

วรรณคดี

หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

เสวนะ,เสวนา

หมายถึง[เสวะ-] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

ศาสนจักร

หมายถึง[สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อำนาจปกครองทางศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ