ค้นเจอ 32 รายการ

ยก

หมายถึงน. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒-๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.

ยกเก็จ

หมายถึงก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ.

ยกทรง

หมายถึงน. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง.

ยกธงขาว

หมายถึง(ปาก) ก. ยอมแพ้.

ยกบัตร

หมายถึง[ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.

ยกพื้น

หมายถึงน. พื้นที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบ. ก. ทำพื้นให้สูงขึ้น.

ยกยอ

หมายถึงก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง.

ยกยอปอปั้น

หมายถึง(ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.

ยกกลีบ

หมายถึงก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น.

ยกตัวขึ้นเหนือลม

หมายถึง(สำ) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น.

ยกภูเขาออกจากอก

หมายถึง(สำ) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป.

ยกเมฆ

หมายถึงก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ