ค้นเจอ 25 รายการ

บรรทัดฐาน

หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.

มาตรฐาน

หมายถึง[มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน.

แบบอย่าง

หมายถึงน. ตัวอย่างที่จะอ้างเป็นบรรทัดฐานได้.

แบบฉบับ

หมายถึงน. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, สิ่งที่ถือเป็นแบบได้.

เสียงเหน่อ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน.

เหน่อ

หมายถึง[เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน.

สอบไล่

หมายถึงก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรแต่ละขั้นหรือทั้งหมด.

สอบเทียบ,สอบเทียบความรู้

หมายถึงก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่.

ปทัฏฐาน

หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).

ความถ่วงจำเพาะ

หมายถึงน. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ °ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).

จุดเยือกแข็ง

หมายถึงน. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). (อ. freezing point).

ปทัสถาน

หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ