ตัวกรองผลการค้นหา
นิจ,นิจ,นิจ-
หมายถึง[นิด, นิดจะ-] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ; ส. นิตฺย).
มนัส,มนัส-
หมายถึง[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
นิจ
หมายถึงว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
นิพัทธกุศล
หมายถึง[นิพัดทะ-] น. กุศลที่ทำเป็นนิจ.
แม่พระ
หมายถึงน. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานีชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.
ธรรมายตนะ
หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
นิจศีล
หมายถึง[นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
อัตรา
หมายถึง[อัดตฺรา] น. ระดับที่กำหนดไว้, จำนวนที่จำกัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจำตามกำหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓).
วิ่น
หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.
เรื่องสั้น
หมายถึงน. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
กระสัน
หมายถึงก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
เจตภูต
หมายถึง[เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.