ค้นเจอ 605 รายการ

ประภาพ

หมายถึง[ปฺระพาบ] น. อำนาจ, ฤทธิ์. (ส.).

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

รณ,รณ-

หมายถึง[รน, รนนะ-] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).

เลอภพ

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.

เลอสรวง

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ครองสวรรค์.

เลอหล้า

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ครองโลก.

หะแห้น

หมายถึง(วรรณ) ว. เสียงร้องของสัตว์ดังเช่นนั้น.

ทุกร,ทุกร-

หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).

ชิรณ,ชิรณ-,ชิรณะ

หมายถึง[ชิระนะ-] ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชำรุด. (ป. ชีรณ; ส. ชีรฺณ).

ชีรณ,ชีรณ-,ชีรณะ

หมายถึง[ชีระนะ-] ว. เก่า, แก่, ชำรุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).

เลอลบ

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ