ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา บำรู, ปรบ, ประ, ปรำ, ปรีติ, ปรก, ปริ,ปริ-,ปริ-, ปริ, ปริซึม, ปริทัศน์
ปรกติ
หมายถึง[ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
ประกาศผลการร่วมกิจกรรมแจกสติกเกอร์ครั้งที่ 1
ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
ประโยคที่เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
ปรตยักษ์
หมายถึง[ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
ปรตเยก
หมายถึง[ปฺรดตะเยก] (กลอน) ว. ปัจเจก. (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
ปรนปรือ
หมายถึง[ปฺรนปฺรือ] ก. บำรุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
ปรนัย
หมายถึง[ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
ปรบ
หมายถึง[ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.
ปรมาจารย์
หมายถึง[ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
ปรมาภิไธย
หมายถึง[ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลงพระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
ปรมินทร์,ปรเมนทร์
หมายถึง[ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
ปรเมษฐ์
หมายถึง[ปะระเมด, ปอระเมด] น. ผู้สูงสุด คือ พระพรหม. (ส.).
ปรวด
หมายถึง[ปะหฺรวด] น. เนื้อที่เป็นโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง; ชื่อหมอช้าง.
ปรอย ๆ
หมายถึง[ปฺรอย] ว. ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้แก่ฝนตก) เช่น ฝนตกปรอย ๆ.