ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา นัฏ,นัฏกะ, เครื่องห้า, หับ, คณนะ,คณนา, จัด, มาย, อินทรวงศ์, อินทรวิเชียร, ตวง, ไตร, อ่าน
คณนะ,คณนา
หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
วันเข้าพรรษา
วันลอยกระทง
จัด
หมายถึงก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทำให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลำดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
อ่าน
หมายถึงก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
คณานับ
หมายถึงก. นับ.
มาย
หมายถึงก. ตวง, นับ. (ป.).
นับ
หมายถึงก. ตรวจหรือบอกให้รู้จำนวน; ถือเอาว่า เช่น มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่.
อินทรวงศ์
หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
อินทรวิเชียร
หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
ตวง
หมายถึงก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จำนวนหรือปริมาณ; (โบ) นับ, กะ, ประมาณ, ทำให้เต็ม, เช่น ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง. (จารึกสยาม).
ไตร
หมายถึง[ไตฺร] ก. กำหนด, นับ, ตรวจ.
ตกเป็นพับ
หมายถึงก. นับเป็นสูญ.
พอใช้ได้
หมายถึงว. นับว่าใช้ได้.