ค้นเจอ 11 รายการ

จี

หมายถึงว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า. (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋.

จีรัง

หมายถึงว. นาน, ยาวนาน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยั่งยืน เป็น จีรังยั่งยืน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน.

พจี

หมายถึง[พะจี] น. คำพูด, ถ้อยคำ. (ป. วจี).

ยั่งยืน

หมายถึงก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว.

ลิ้นจี่

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Litchi chinensis Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทยนางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี). ว. สีแดงเข้มคล้ายเปลือกลิ้นจี่ เรียกว่า สีลิ้นจี่. (จ. อินจี).

วจีทุจริต

หมายถึง[วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.

วจีสุจริต

หมายถึง[วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.

ไตรจีวร

หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

บางสุ

หมายถึง(กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).

กุญแจ

หมายถึงน. เครื่องสำหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุญฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ