ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มโนช, สวาท, อ้วน, รติ, อาการนาม, รงค,รงค-,รงค์, พิสมัย, เปรม, อนธการ, อำยวน
มโนช
หมายถึงน. “เกิดแต่ใจ” คือ ความรัก. (ส.).
รวม "คำศัพท์เรียกแฟน" ภาษาอังกฤษ
คำศัพท์วันวาเลนไทน์ อัปเดต 2023
คําอวยพรวันแม่ภาษาอังกฤษ รวมคำอวยพรวันแม่ซึ้ง ๆ
50 มุกเสี่ยวยอดนิยม โพสต์เรียกยอดไลก์
สวาท
หมายถึง[สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน).
อ้วน
หมายถึงคำที่เอาไว้เรียกแฟนตัวเอง แต่คนอื่นหันมาตลอด ปีแรกเรียกขำ ๆ พอผ่านห้าปีไปแล้วอ้วนจริง เหมือนเป็นคำสาป เลี่ยงได้เลี่ยงนะ
รติ
หมายถึงน. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกำหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).
อาการนาม
หมายถึง[อาการะนาม] (ไว) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
รงค,รงค-,รงค์
หมายถึง[รงคะ-, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกำหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).
เสนห,เสนห-,เสนหา,เสน่หา
หมายถึง[สะเนหะ-, สะเน-, สะเหฺน่-] น. ความรัก. (ส.).
พิสมัย
หมายถึง[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
สิเนหะ,สิเนหา,สิเน่หา
หมายถึง[สิเหฺน่หา] น. ความรัก, ความมีเยื่อใย, เช่น เขาให้สร้อยเส้นนี้แก่ฉันด้วยความสิเน่หา. (ป.; ส. เสฺนห).
เปรม
หมายถึง[เปฺรม] ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ. น. ความรัก, ความชอบใจ. (ส.).
รัก
หมายถึงก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และ พันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยางเป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).