ค้นเจอ 802 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ข่ม, บังคับใจ

ข่ม

หมายถึงก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.

บังคับใจ

หมายถึงก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อำนาจบังคับให้เขาต้องฝืนใจทำ.

สะกดอกสะกดใจ,สะกดอารมณ์

หมายถึงก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.

เหง

หมายถึง[เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ข่ม เป็น ข่มเหง.

พร้อมใจ

หมายถึงก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขาพร้อมใจกันทำงาน.

ใจ

หมายถึงน. สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของสถานที่ เช่น ใจบ้านใจเมือง.

ส่งใจ

หมายถึงก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.

ทันต์

หมายถึง(แบบ) ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว. (ป.).

ทมะ

หมายถึง[ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).

ยกตนข่มท่าน

หมายถึง(สำ) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.

ทนม

หมายถึง[ทะนม] (กลอน) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกสอนตน. (ป., ส. ทมน).

เสมอใจ

หมายถึงว. เหมือนใจ, ได้ดังใจ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ