ตัวกรองผลการค้นหา
ศิลป์
หมายถึง[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ภาษาบาลี-สันกฤต
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2)
ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก
ฤต
หมายถึง[รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความชอบธรรม. (ส.).
วิจิตรศิลป์
หมายถึง[-จิดตฺระสิน, -จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้านคุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
อัพยากฤต
หมายถึง[อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศลหรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
ศรศิลป์ไม่กินกัน
หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ
หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
ทัศนศิลป์
หมายถึงน. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
ศิลปศึกษา
หมายถึงน. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
ล้อความตาย,ล้อมฤตยู,ล้อมัจจุราช
หมายถึงก. กระทำการใด ๆ ที่เสี่ยงต่อความตาย.
ชำเนียร
หมายถึงว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชำเนียรในศิลป์. (สรรพสิทธิ์).
ก
หมายถึงพยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.
ลงรอย,ลงรอยกัน
หมายถึงก. เข้ากันได้.