ตัวกรองผลการค้นหา
หมาจนตรอก
หมายถึงคนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก
สำนวนจากละครบุพเพสันนิวาส
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
50 สำนวนสุภาษิตไทย
50 สำนวนไทย ที่ได้ยินบ่อย ๆ
พกนุ่น
หมายถึงใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น
พกหิน
หมายถึงใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น
ทุบหม้อข้าวตัวเอง
หมายถึงสำนวนไทย “ทุบหม้อข้าวตัวเอง” หมายถึง การกระทำที่ทำให้ตนเองเสียผลประโยชน์หรือได้รับความเสียหาย
กินบุญเก่า
หมายถึงได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า)
วัดรอยเท้า
หมายถึงมุ่งจะโต้ตอบมุ่งแก้แค้นมุ่งอาฆาตเป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้ลูกหรือใช้กับผู้น้อยคิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้
ตื่นก่อนนอนหลัง
หมายถึงเป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี
ตื่นก่อนนอนทีหลัง
สู้ยิบตา
หมายถึงสู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา)
จับปลาสองมือ
หมายถึงการที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กัน ทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น สำนวนนี้นิยมใช้กับผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา
สาวไส้ให้กากิน
หมายถึงการนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่างๆ สำนวนนี้มักจะใช้สื่อถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ดี และมักจะมีคู่กรณีที่ต่างคนต่างแฉกันและกัน
ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
หมายถึงสิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูไม่สวยงามหรือดูไม่ดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นมีความสวยงามหรือความดีซ่อนอยู่ภายใน