สำนวนไทย หมวด จ
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
รวมสำนวนไทย หมวด จ
สำนวนไทย หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- จมูกมด หมายถึง รู้ทันเหตุการณ์ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจมูกมด มักจะรู้เรื่องราวทุกอย่างในหมู่บ้านตลอดเวลา รู้อะไรไปหมด รู้ก่อนคนอื่นตลอด
- จมไม่ลง หมายถึง บุคคลที่เคยมีฐานะร่ำรวยหรือมีชื่อเสียงมาก่อน แต่ปัจจุบันยากจนหรือไม่มีชื่อเสียงอีกแล้ว แต่ยังประพฤติตนเหมือนกับตอนที่ยังมีฐานะหรือชื่อเสียงดีเหมือนแต่ก่อน
- จรกาหน้าหนู หมายถึง คนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้
- จระเข้ขวางคลอง หมายถึง คนที่ชอบอะไรขัดขวางผู้อื่น คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นกระทำการได้อย่างสะดวก
- จองหองพองขน หมายถึง เย่อหยิ่ง อวดดี ทะนงตน หรือไม่รู้จักบุญคุณด้วยการแสดงอาการลบหลู่ผู้มีพระคุณ
- จับดำถลำแดง หมายถึง มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง มุ่งอย่างหนึ่งกลายไปเป็นอย่างหนึ่งต้องการอีกอย่าง ทำเพื่อจะได้มันมามุ่งมั่นไปหามัน แต่กลับได้อีกอย่างนึงซะอย่างงั้น
- จับตัววางตาย หมายถึง กำหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง กำหนดตัวบุคคลให้ประจำหน้าที่โดยเฉพาะวางตัวบุคคลให้ทำงานชิ้นใดชิ้นนึงอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะ
- จับปลาสองมือ หมายถึง การที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น
- จับปูใส่กระด้ง หมายถึง การที่คน ๆ หนึ่งพยายามดูแลเด็กเล็ก ๆ โดยพยายามให้อยู่นิ่ง ๆ หรือเป็นระเบียบ แต่เด็กก็ซุกซนไม่อยู่นิ่ง
- จับพลัดจับผลู หมายถึง บังเอิญเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ
- จับแพะชนแกะ หมายถึง การทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก
- จับให้มั่นคั้นให้ตาย หมายถึง การจะจับผิดหรือเอาผิดกับใครต้องมีหลักฐานแน่ชัด
- จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน หมายถึง ตามไม่ทัน จับไม่ทัน ดักทางดักความคิดไม่ถูก
- จีนใหม่ หมายถึง ทำอะไรมักผิด ๆ ถูก ๆ เพราะไม่เคยทำมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ ท่าทางไม่ทะมัดทแมง กิริยามารยาท ไม่สุภาพเรียบร้อย ตัวอย่าง: ซุ่มซ่ามเหมือนจีนใหม่
- จืดเหมือนไชยเชษฐ์ หมายถึง ได้ยินได้ฟังมาบ่อย ๆ
- จุดไต้ตำตอ หมายถึง พูด/ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเอาเจ้าของเรื่องเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างไม่รู้ตัว
- จูงช้างลอดรูเข็ม หมายถึง กระทำในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หรือแทบจะทำไม่ได้เลย เหมือนอย่างเช่น จะจูงช้างรอดรูเข็มได้อย่างไร
- เจ้าชู้ประตูดิน หมายถึง ผู้ชายที่เที่ยวจีบผู้หญิงไม่เลือกหน้า
- เจ้าหน้าเจ้าตา หมายถึง คนที่ชอบทำงานเอาหน้า อยากได้หน้า ชอบเจ้ากี้เจ้าการ เสนอหน้าเข้าไปทำธุระให้โดยที่ผู้อื่นไม่ได้ร้องขอ
- แจงสี่เบี้ย หมายถึง การพูดชี้แจงหรืออธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วน
- ใจดีสู้เสือ หมายถึง การทำใจกล้า ควบคุมจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวไปกับเหตุการณ์ตรงหน้า เมื่อต้องเจอกับสิ่งที่น่ากลัวหรือเป็นอันตราย
- ใจยักษ์ หมายถึง มีใจดุร้าย [ใจมาร] ก็ว่า
- ใจหายใจคว่ำ หมายถึง ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว