สำนวนไทย หมวด บ
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
รวมสำนวนไทย หมวด บ
สำนวนไทย หมวด บ ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- บนบานศาลกล่าว หมายถึง ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ นำของมาบนหรือสัญญาว่าจะทำเพื่อให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยเหลือเกื้อหนุน
- บอกศาลา หมายถึง ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป.
- บอกเล่าเก้าสิบ หมายถึง บอกกล่าวให้รู้.
- บานปลาย หมายถึง ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ประมาณหรือกำหนดไว้.
- บุกป่าฝ่าดง หมายถึง พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ.
- บุญมาวาสนาส่ง หมายถึง เมื่อมีบุญ อำนาจวาสนาก็มาเอง, บุญมาวาสนาช่วย ก็ว่า.
- บุญหนักศักดิ์ใหญ่ หมายถึง มีฐานันดรศักดิ์สูงและอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
- บ่างช่างยุ หมายถึง คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
- บ้วนน้ำลายแล้วกลืน หมายถึง พูดจากลับกลอก
- บ้านนอกคอกนา หมายถึง บ้านนอกขอกนา.
- บ้าหอบฟาง หมายถึง บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
- บ้าห้าร้อยจำพวก หมายถึง บ้ามากมายหลายประเภท.
- เบี้ยหัวแตก หมายถึง เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกำแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
- แบกหน้า หมายถึง จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).