ตัวกรองผลการค้นหา
จืดเหมือนไชยเชษฐ์
หมายถึงได้ยินได้ฟังมาบ่อย ๆ
สัปดาห์ อ่านว่าอย่างไร
ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
50 สำนวนไทย ที่ได้ยินบ่อย ๆ
สาเหตุที่มีคำราชาศัพท์
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
หมายถึงการได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับพบเห็นด้วยตนเอง
ฟังความข้างเดียว
หมายถึงเชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
ฟังหูไว้หู
หมายถึงรับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด
เป่าปี่ให้ควายฟัง
หมายถึงการพูดจาแนะนำสั่งสอนให้คนโง่เง่าฟังเพื่อหวังให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเขาเองแต่กลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยเพราะคนโง่ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกับคนเป่าปี่ให้ควายฟังควายฟังไม่รู้เรื่อง
กู่ไม่กลับ
หมายถึงไม่ฟังคำทัดทาน ห้ามไม่อยู่
หมายถึงการรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่
เออออห่อหมก
หมายถึงเอาใจฟัง, เห็นด้วย, พลอยเห็นไปตามด้วย (เหมือน เออออ)
สีซอให้ควายฟัง
หมายถึงแนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า
แทงใจดำ
หมายถึงพูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง
ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด
หมายถึงฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ
พ่อลิ้นทอง
หมายถึงคนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง