ค้นเจอ 16 รายการ

เท้าสาร

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายหวายแข็ง ใช้ทำเป้นแส้ถือได้ เรียก ไม้เท้าสาร.

เกี่ยวกินตีน

หมายถึงเหน็บกินเท้า, เป็นเหน็บที่เท้า

ขี้เหล็กสาร

หมายถึงแสมสาร ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กสาร ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้.

ส้นน่อง

หมายถึงส้นเท้า, ส้นตีน

สะน่อง

หมายถึงส้นเท้า, ส้นตีน

เง้า

หมายถึงชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง จำพวกกระโดดสูง รูปร่างคล้ายกบ มีสีดำ อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือลำธารในป่าเขาเรียก เง้า.

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

กระจ้อน

หมายถึง-ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ตัวเล็กคล้ายกระรอก หรือกระแต หน้าแหลม -เล็ก แกร็น เช่น ม้าตัวเล็กและผอม เรียก ม้ากระจ้อน ม้าบักจ้อน

ไป

หมายถึงเคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

ก้ม

หมายถึงทำให้ต่ำลงโดยอาการน้อม เช่น ก้มหัว ก้มหน้า อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว) เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพรากขึ้นที่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง(สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ