100 ภาษาอีสาน ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน
รวม 100 ภาษาอีสานที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
- กะซาง,กะตามซ่าง,กะส่าง
หมายถึง ก็ช่าง,ไม่ใส่ใจ,ช่างเถอะ - กะด้อกะเดี่ย
หมายถึง อะไรจะขนาดนั้น,มากมาย , มากเกินไป, ออกหน้าออกตา - กะปอม,ขี่กะปอม,ขี้กะปอม
หมายถึง กิ้งก่า - กะโป๋
หมายถึง กะลามะพร้าว - กินข้าวงาย
หมายถึง รับประทานอาหารมื้อเช้า - กินข้าวสวย
หมายถึง รับประทานอาหารมื้อกลางวัน มื้อเที่ยง - กินข้าวแลง
หมายถึง รับประทานอาหารมื้อเย็น หรือมื้อค่ำ - กึ่ม
หมายถึง เป็นคำด่า เสียดสี ประมาณว่าโง่ ไม่เอาไหน - ก่องจ่อง
หมายถึง กริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า. - ขนคิงลุก
หมายถึง อาการกลัว,ขนลุกชัน - ขอบคุณหลายๆเด้อ
หมายถึง ขอบคุณมากๆนะ - ขาเลาะ
หมายถึง คนที่ชอบเที่ยวเตร่ไปเรื่อย ส่วนมากจะใช้กับวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชอบเตร็ดเตร่ เที่ยวเล่นสนุกสนาน - ขี่แข่ว
หมายถึง ขี้ฟัน - ขี้กะตืก
หมายถึง พยาธิ - ขี้กะตู่,เขียดกะตู่,ขี้คันคาก,ขี่คั่นคาก
หมายถึง คางคก - ขี้ค้าน,ขี้คร้าน
หมายถึง ขี้เกียจ - ขี้ดื้อขี้มึน
หมายถึง ซุกซน - ขี้ตั๋ว
หมายถึง ขี้โกหก โกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา). - ขี้ล่าย,ขี้ฮ้าย
หมายถึง ขีเหร่,ดูไม่ดี ไม่น่าดู มีความหมายเดียวกับคำว่า ผู้ฮ้าย - ขี้เกี้ยม
หมายถึง จิ้งจก - ขี้เดียด
หมายถึง ขยะแขยง,รังเกียจ ,ไม่ชอบ - ขี้โก๋
หมายถึง จิ้งเหลน - ขี้ไก่โป่
หมายถึง ขี้ไก่ก้อนใหญ่ - ข้าวต้มแดก
หมายถึง เป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น - ควย
หมายถึง โยก,โยกเยก,โคลงเคลง - ควย (ควาย)
หมายถึง ควาย - ควยตู้
หมายถึง ควายทุยเขาสั้น - คัก
หมายถึง สุดยอด , ดีที่สุด ,ได้ดั่งใจ
ถนัด แน่ ชัด การเห็นโดยไม่มีเคลือบแคลงสงสัย เรียก เห็นคัก
ถูกต้อง แน่นอน จริง เช่น เฮ็ดคักๆ เด้อ คึดคักๆ เว้าคักๆ. - คักขนาด
หมายถึง ดีมากๆ,เยี่ยมมากๆ,ดีสุดๆ,สุดยอด - คักน้อ
หมายถึง ดูดี แบบเว่อๆ, เหมือนชมว่าดีแบบประชดประชันนิดๆ - คักอีหลี
หมายถึง สะใจจริง - คันจ้อง
หมายถึง ร่ม สิ่งที่ใช้ป้องกันแดดหรือฝน - คันยู,ห่ม,คันห่ม
หมายถึง ร่ม - คันแข่ว
หมายถึง หมั่นไส้,หงุดหงิดเนื่องจากทำอะไรไม่ได้อย่างที่คิด - คำแพง
หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นที่รัก หรือ แก้วตาดวงใจของพ่อแม่ - คิดฮอด, คึดฮอด
หมายถึง คิดถึง - คือ
หมายถึง เหมือน - ค่อย,ข่อย,ข้อย
หมายถึง ตัวเราเอง - ค่อยฮักเจ้า, ข่อยฮักเจ้า
หมายถึง ฉันรักเธอ - ค้ำคูณ
หมายถึง ดี, เป็นมงคล, ศิริมงคล, เจริญก้าวหน้า - งามโพดงามเหลือ งามแท้งามว่า
หมายถึง สวยจริงสวยจัง สุดจะพรรณา - จัก (ไม่รู้)
หมายถึง ไม่รู้จัก - จักว่าหยังเป็นหยัง
หมายถึง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร - จักเทื่อ
หมายถึง สักครั้ง - จักแหล่ว
หมายถึง ไม่รู้สิ - ซัง
หมายถึง เกลียด - ซือๆ
หมายถึง เฉยๆ - ซู่มื้อ
หมายถึง ทุกวัน - ดาก
หมายถึง ก้น , ตูด , ส่วนท้าย ปลายลำไส้ใหญ่ที่ทวารหนัก เรียก ดาก อย่างว่า ซ่าเพิ่นซ่าดี ซ่าโตซ่าหีติดดาก (ภาษิต) ดินเหนียวสีแดงเรื่อๆ หรือสีเหลืองอ่อน เรียก ดินดาก. - ตลาด
หมายถึง ตลาด (เหมือนกับภาษากลาง) - ตาฮัก ตาแพง
หมายถึง น่ารัก น่าเอ็นดู - ตำบักหุ่ง
หมายถึง ส้มตำ - ตำอิด,ตำก่อ
หมายถึง แต่ก่อน , ตอนแรก , เริ่มต้น , แต่ไหนแต่ไร,นานมาแล้ว - ตื่น
หมายถึง 1.)ตกใจ 2.)ฟื้นจากหลับ เรียก ตื่น อย่างว่า ให้ตื่นแต่เดิก ให้เศิกแต่หนุ่ม ให้ตื่นเดิกคือกา ให้หากินคือไก่ ตื่นแต่เช้ากินข้าวกับปลา ตื่นสวยกินขวยขี้ไก่โป่ (ภาษิต). - ถิ่ม
หมายถึง ทิ้ง - บัก
หมายถึง คําเรียกชายที่เสมอกันหรือต่ำกว่า - บักนัด
หมายถึง สับปะรด - บักสีดา
หมายถึง ฝรั่ง (ผลไม้) - บักหำ
หมายถึง ไอ้หนู - บักเขียบ
หมายถึง น้อยหน่า (ผลไม้) - บุญผลา
หมายถึง บุพเพสันนิวาส,พรหมลิขิต - บ่หัวซา
หมายถึง ไม่ถือสา, ไม่ใส่ใจ - ผู้ฮ้าย
หมายถึง ขี้เหร่, ไม่สวย, ไม่หล่อ, หน้าตาไม่ดี - พอกะเทิน
หมายถึง ไม่มากไม่น้อย ครึ่งๆกลางๆ - พ้อ
หมายถึง พบ - พ้อว้อแพ้แว้
หมายถึง ลักษณะอาการลับๆล่อๆ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ เดี๋ยวก็อยู่ตรงนั้น เดี๋ยวก็โผล่มาตรงนี้ - มัก
หมายถึง รัก,ชอบ - มักย่อง
หมายถึง บ้ายอ - มักหลาย
หมายถึง ชอบมาก - มื้ออื่น
หมายถึง พรุ่งนี้ - ย่าง
หมายถึง เดิน - ย่าน
หมายถึง กลัว - ลูกหล้า
หมายถึง ลูกคนสุดท้อง - สวอย
หมายถึง หมดเรี่ยวแรง สิ้นกำลัง - สายแนน
หมายถึง คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ, บุพเพสันนิวาส, เนื้อคู่ กกแนน ก็เรียก - สำมะแจ๋
หมายถึง ลักษณะการพูดมากและไม่เป็นความจริง - สิบสิฮ่าง ซาวสิฮ่าง
หมายถึง อะไรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม - สี่
หมายถึง (กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม. - สูน
หมายถึง โกรธ - หนหวย
หมายถึง รำคาญ, ไม่สบายใจ, หงุดหงิด, กังวลใจ - หมาน
หมายถึง โชคดี,รวย ได้มาก - หยุม
หมายถึง ขยุ้ม ขยุ้มด้วยเล็บ - หลูโตน
หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร. - หัวซา
หมายถึง สนใจ,ใส่ใจ - อีหลี
หมายถึง จริงๆ - อ้าย
หมายถึง พี่ชาย - ฮิ
หมายถึง เรื่องมาก , ตำหนิ , ช่างเลือกมาก, ไม่ถูกใจ, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ - ฮ่าง
หมายถึง พัง ชำรุด เสียหาย - เคียว
หมายถึง แรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต). - เบิ๊ด , เบิด ,เหมิด
หมายถึง หมด - เพิ่น
หมายถึง คนอื่น, เขา (คนที่กำลังถูกพูดถึง) - เมิดคำสิเว้า
หมายถึง ไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก - เมือบ้าน
หมายถึง กลับบ้าน - เลาะ
หมายถึง 1. แวะรายทาง, เตร็ดเตร่ไปเรื่อย 2. เลียบไปตามชายฝั่ง - แคดแลด
หมายถึง โผล่ออกมา , แพมออกมา ,ส่วนเกินที่ยื่นออกมา - แค้นข้าว
หมายถึง ข้าวติดคอ - แลน
หมายถึง วิ่ง - โอ้นโต้น
หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่ห้อยลงมา, โตงเตง - ไปเฮ็ดเวียก
หมายถึง ไปทำงาน - ไผ
หมายถึง ใคร
คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับภาษาอีสานทั้ง 100 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน
หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย