ภาษาอีสาน หมวด อ
รวมภาษาอีสาน หมวด อ
ภาษาอีสาน หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- อกรรมกิริยา
หมายถึง กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.). - อกุศลกรรม
หมายถึง ความชั่วร้าย โทษ บาป (ป. อกุสลกมฺม). - อกุศลกรรมบถ
หมายถึง ทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.). - อนันตริยกรรม
หมายถึง กรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.). - อนิจกรรม
หมายถึง ความตาย พระยาพานทองตายใช้ว่า ถึงอนิจกรรม. - อนุกรรมการ
หมายถึง กรรมการน้อย กรรมการใหญ่เรียกกรรมการ ในกรณีที่จำต้องมีกรรมการสองระดับ ระดับแรกเรียก กรรมการ ระดับสอง เรียก อนุกรรมการ. - อยากหัว
หมายถึง น่าขัน น่าหัวเราะ - อย่าฟ้าว
หมายถึง อย่าเพิ่ง - อสัญกรรม
หมายถึง ความตาย ข้าราชการชั้นเจ้าพระยาตาย ใช้ว่า ถึงแก่อสัญกรรม (ราชา). - อสุภกรรมฐาน
หมายถึง กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งาม ความไม่เที่ยงแท้ของสังขารเป็นอารมณ์ (ป.). - ออกกรรม
หมายถึง การที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้. - ออกกรรม (ญ)
หมายถึง การที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม. - อัง
หมายถึง คับแคบ - อัตวินิบาตกรรม
หมายถึง การฆ่าตัวตาย. - อาชญากรรม
หมายถึง การกระทำความผิดทางอาญา (ส.). - อาดหลาด
หมายถึง ใช้ในการขยายคำให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งหมาย ถึง ยาว , สูงใหญ่ , ยาวใหญ่ - อาพิล
หมายถึง ขุ่นมัว เศร้าหมอง อาวิล (ป. ส. อาวิล). - อาว
หมายถึง น้องชายของพ่อ เรียก อาว อย่างว่า ขอให้อาได้เห็นหน้าอาวยามน้อย (สังข์) เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว (ฮุ่ง). อาว แปลว่า น้องชายของพ่อ ส่วนน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อา เหมือนในภาษาไทยกลาง - อิหลี
หมายถึง จริง อีหลี - อิแม่
หมายถึง แม่ - อีจู้
หมายถึง เครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, ลัน ก็เรียก - อีหลี
หมายถึง จริงๆ - อีเกิ้ง
หมายถึง ดวงจันทร์ - อีเกิ้ง
หมายถึง ดวงจันทร์ - อีแปะ
หมายถึง ชื่อเงินตราโบราณชนิดหนึ่ง เรียก เงินอีแปะ. - อีโตน
หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร. - อึ่งเป๊าะ
หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นอึ่งเป๊าะ. - อุตสาหกรรม
หมายถึง การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก. - อุตสาหกรรมศิลป์
หมายถึง วิชาที่เรียนมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือและเครื่องกล. - อุปสมบทกรรม
หมายถึง การบวชเป็นภิกษุ. - อโหสิกรรม
หมายถึง กรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.). - อ้าย
หมายถึง พี่ชาย - เอิ้น
หมายถึง เรียก, ร้อง, ป่าวประกาศ - เอี่ยน
หมายถึง ปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต). - เอี่ยนด่อน
หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน. - แอ่นแส่ว
หมายถึง นกแอ่นลม ชื่อนกชนิดหนึ่งชอบบินไปตามลม เรียก นกแอ่นแส่ว มีปีกยาว กินแมลงเป็นอาหาร. - โอสถกรรม
หมายถึง การแพทย์แผนกใช้ยา การรักษาไข้ด้วยวิธีใช้ยา. - โอ้กโลก
หมายถึง เปื้อน, มอมแมม มักใช้ขยายความสกปรก ซึ่งจะหมายถึงมอมแมมมาก ๆ ลักษณะการทาแป้งหรือสิ่งที่คล้ายแป้งมากเกินไป - โอ้นโต้น
หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่ห้อยลงมา, โตงเตง - ไอยรา
หมายถึง 1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์). - ไอราพต
หมายถึง ไอราวัณ เอราวัณ ก็ว่า ช้างสามเศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์ (ป. เอราวณ ส. ไอราวต). - ไอศกรีม
หมายถึง ของกินทำด้วยของหวาน กะทิหรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น (อ.). - ไอศวร
หมายถึง พระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์). - ไอศวรรย์
หมายถึง ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อำนาจ สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ใช้ ไอศูรย์ ไอศริย ก็มี (ป. อิสฺสริย ส. ไอศฺวรฺย). - ไอ่
หมายถึง ชื่อมเหสีของท้าวผาแดง ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ผาแดงนางไอ่ อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าตนพ่อปิตา จิ่งได้หานามกรแก่นางนงน้อย ชื่อว่าสอยวอยหน้ากัลยานางไอ่ อันแต่ขงเขตใต้ลือน้อยว่างาม (ผาแดง).