ภาษาอีสาน หมวด ก
รวมภาษาอีสาน หมวด ก
ภาษาอีสาน หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ก
หมายถึง พยัญชนะตัวต้นของพยัญชนะทั้งหมด เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก - กก
หมายถึง ต้นไม้ ต้นไม้เรียก กกไม้ เช่น กกมี้ กกม่วง กกยม กกยอ กกเดื่อ อย่างว่า กกบ่เตื้องตีงตายตั้งแต่ง่า ง่าบ่เหลื้องมาเตื้องตั้งแต่ใบ (บ.) - กก
หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก หรือมาตรากก. - กก
หมายถึง ต้นกก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นผือ ใช้ทอเสื่อ เสื่อที่ทอด้วยกกสวยกว่า เพราะต้นกกลำเล็ก อย่างว่า สาดต่ำผือบ่งามบ่จบ สาดต่ำกกทังจบทังงาม (บ.) - กก
หมายถึง ต้นตระกูล ผู้เป็นต้นตระกูล เรียก กก, กอ หรือเหง้า ก็เรียก อย่างว่า กกกอเหง้าวงศ์สกุลโคตรย่า ให้บูชาอ่อนน้อมถนอมไว้อย่าลวน (บ.) - กก
หมายถึง แรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียกต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก. - กก
หมายถึง กอด อุ้ม กอดหรืออุ้มไว้กับอกเรียก กก เช่นแม่กอดลูก บ่าวกอดสาว ไก่กกลูก อย่างว่า ยามเมื่อนอนในห้องศาลากวนแอ่ว พี่ก็กกกอดอุ้มเอาน้องเข้าบ่อนนอน (กา). - กก
หมายถึง แรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก. - กก
หมายถึง โคน เช่น โคนแขนเรียก กกแขน โคนขาเรียก กกขา อย่างว่า สาวเอยสาว ตั้งแต่เจ้าเป็นสาว กกขาขาวคือปลีกล้วยถอก บาดเจ้าออกลูกแล้ว กกขาก่ำคือหำลิงโทน (กลอน) - กก
หมายถึง นกเงือกเรียก นกกก นกคอก้าก ก็ว่า อย่างว่า นกกกแลนกแกง ซุมแซงแลคอก่าน ห่านฟ้าแลตะลุม (เวส) ฟันยินเปล้าป่าวฮ้องเฮียงลูก สอนเสียงพุ้นเยอ สองค่อยพากันเก็บเงื่อนลิงเล็งป้อน ฟันยิงแกงกกเค้าคณามุมฮ้องฮ่ำ เจ้าหล้าช้อยฟังย้านสั่นสาย (สังข์). - กกขา
หมายถึง โคนขา - กกบักขาม
หมายถึง ต้นมะขาม - กกหูก
หมายถึง ด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป - กกหูก
หมายถึง ด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ ติดกับฟืม กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป - กกุธ์ห้า
หมายถึง เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์). - กกุสนธ์
หมายถึง พระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ). - กกเหงือก
หมายถึง ลิ้นไก่ - กกแข่ว
หมายถึง รากฟัน - กกแข้ว
หมายถึง รากฟัน - กกแนน
หมายถึง คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ, บุพเพสันนิวาส, เนื้อคู่ สายแนน ก็เรียก คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ หรือที่โบราณเรียกว่าบุพเพสันนิวาสนั้น เรียก กกแนน กกมิ่ง กกแนน สายมิ่ง สายแนน ก็เรียก อย่างว่า อันหนึ่งกกแนนเจ้าขูลูบาบ่าวทังอ่อนน้อยยังเกี้ยวกอดกันบ่เด (ขูลู) - กกไม้
หมายถึง ต้นไม้ - กง
หมายถึง เขตแดน, บริเวณ, สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือคล้ายวงกลม - กง (ดื้อ)
หมายถึง ดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.). - กง (แม่กง)
หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง หรือ มาตรากง - กงคำ
หมายถึง ราชรถเรียก - กงจักร
หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลม เช่น กงเกวียน กงล้อ กงรถ เรียก กงจักร อย่างว่า นำกงจักรจากไปปอมเว้น (สังข์) - กงชมพู
หมายถึง ที่, ใน - กงดิน
หมายถึง เขตดิน เรียก กงดิน - กงน้ำ
หมายถึง เขตน้ำ - กงพัด
หมายถึง ระหัด, พัดลม. - กงพื้น
หมายถึง เขตแผ่นดิน - กงราช
หมายถึง เขตเมืองหลวง เรียก กงราช อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าก้องกงราชเป็งจาน (สังข์) - กงราชมณเฑียร
หมายถึง เขตเรือนหลวงเรียก กงราชมณเฑียร อย่างว่า คื่นคื่นก้องกงราชมณเฑียร (สังข์). - กงวัฏ
หมายถึง สิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต - กงสถาน
หมายถึง ถิ่น, สถาน, ที่ สถานที่เรียก กงสถาน อย่างว่า กงสถานกว้างเกียงลมเลียนตาด (กา) - กงสะเด็น
หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีผล เวลาผลแก่เต็มที่ผลจะแตกกระเด็นตกไปในที่ไกล เรียก ต้นกงสะเด็น - กงสี
หมายถึง หุ้นส่วน, บริษัทที่บุคคลหมู่หนึ่งทำขึ้น เช่น กงสีต้มกลั่นสุรา. - กงหลา
หมายถึง กงไนสำหรับกรอด้าย กรอไหม เรียก กงหลา อย่างว่า เหล็กในบ่มีกงหลาแล้วชิกลายเป็นเหล็กส่วน มีผัวบ่มีลูกเต้าเขาชิเอิ้นแม่หมัน (ย่า). - กงหัน
หมายถึง ระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน). - กงห้วย
หมายถึง เขตห้วย เรียก กงห้วย อย่างว่า ฟังยินอุมลัวเหินโฮ่นันกงห้วย (สังข์). - กงเต็ก
หมายถึง การทำบุญให้ผู้ตายของนักบวช นิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่างๆ (จ.) - กงเมือง
หมายถึง เขตเมือง เรียก กงเมือง อย่างว่า มีในเขตขงกงเมืองสิวิราช (เวส) ท้าวก็คอยเห็นกงเมืองชั้นผีหลวงฮ้อยย่าน (สังข์) ข่อยเห็นกงเมืองชั้นจำปายาวย่าน (กา) ฟังยินซว่าซว่า ฮ้องกงราชเป็นจาน (สังข์) คอยเห็นกงเมืองก็พระยาขอมพอผอมผ่อ (ผาแดง) - กงแก้ว
หมายถึง วัน เดือน ปีเกิด เรียก กงแก้ว กงชะตา ดวงชะตา - กงโลก
หมายถึง ทั่วโลก เขตจักรวาลหรือโลกเรียก กงโลก อย่างว่า ควรที่อัศจรรย์ล้ำโลกา กงโลก มีในห้าสิบชาติ แท้เทียวใช่ส่งเวร (สังข์) - กงไกว
หมายถึง เหล็กสว่าน เหล็กสำหรับเจาะไม้และเจาะเหล็ก เรียก เหล็กกงไกว กงกวย ก็ว่า - กฎ
หมายถึง ปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์). - กฎ (จด)
หมายถึง จด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง). - กฎ (ระเบียบ)
หมายถึง ประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน. - กฎกรม
หมายถึง กรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ. - กฎกรรม
หมายถึง กรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม. - กฎกระทรวง
หมายถึง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ. - กฎทบวง
หมายถึง ทบวงคือหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากระทรวง หรือลดหลั่นกระทรวงลงมา ข้อบัญญัติที่เจ้าทบวงตราไว้ เพื่อบริหาร เรียก กฎทบวง. - กฎธรรม
หมายถึง ธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต - กฎธรรมชาติ
หมายถึง ธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ. - กฎธรรมดา
หมายถึง ธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา. - กฎบ้าน
หมายถึง ระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย - กฎมนเทียรบาล
หมายถึง ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐานและพระราชวงศ์. - กฎวัด
หมายถึง ระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง - กฎศีล
หมายถึง ศีลคือข้อห้าม ศีลของศาสดาแต่ละศาสนาบัญญัติไว้ไม่เหมือนกัน สำหรับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ได้บัญญัติศีลแด่พุทธบริษัทไม่เคร่ง ไม่หย่อน พอเหมาะพอดี ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ก็มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่มีภัย ไม่มีเวร ประสบแต่ความสุขความเจริญ - กฎหมาย
หมายถึง บทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์ - กฎอัยการศึก
หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข. - กฎี
หมายถึง เรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ). - กฎุมพี
หมายถึง คนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว). - กฎแกวด
หมายถึง นับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา). - กฐิน
หมายถึง ผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน. - กฐินฮังโฮม
หมายถึง กฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล. - กด
หมายถึง 1.)แม่กด หรือ มาตรากด. 2.)ชื่อปลาจำพวกหนึ่ง มีเงี่ยง ไม่มีเกร็ด เรียก ปลากด 3.)นกกด ชื่อนกกดจำพวกหนึ่ง มี 2 ชนิด คือชนิดสีดำปนแดง ตาสีแดงร้องเสียงปูดๆ หรือปืดๆ เรียก นกกดปูด หรือ นกกดปืด ชนิดตัวเล็กขนลายเรียก นกกดห่อย หรือ นกกดไฟ 4.)คำกำกับชื่อปี ในวิธีนับจุลศักราช กดตรงกับเลข ๗. 5.)บังคับ, ข่มเหง กดขี่ข่มเหงเรียก กด - กดทรง
หมายถึง วางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.). - กดราคา
หมายถึง ตีราคา, กำหนดค่า เช่น เมื่อพระเวสสันดรจะสั่งให้สองกุมารแก่ชูชก ก็กำหนดราคาลูกทั้งสองไว้ - กดวาท
หมายถึง พูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์). - กดหน้า
หมายถึง ก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์). - กดเพศ
หมายถึง ไว้ท่า อวดทรง แสดงท่าทางว่ายังหนุ่มแน่น ไม่ทุกข์จนค่นแค้น อย่างว่า บ่าวก็กดเพศ ไว้ให้สาวดิ้นดั้นตาย (สังข์). - กตัญญูกตเวที
หมายถึง ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า - กตาธิการ
หมายถึง บารมีที่ได้สั่งสมไว้ หรือบุญที่ได้สั่งสมไว้ (ป.). - กตาภินิหาร
หมายถึง บุญอันยิ่งที่ได้สั่งสมไว้ (ป.) - กติกา
หมายถึง ข้อตกลง, ข้อบังคับ, สัญญา (ป.). - กถา
หมายถึง คำ, ถ้อยคำ, เรื่อง, คำอธิบาย, คำกล่าว (ป.). - กถาพันธ์
หมายถึง คำประพันธ์, คำร้อยกรอง (ป.). - กถามุข
หมายถึง คำนำ, ข้อความเบื้องต้นของเรื่อง, คำที่เป็นแนวทาง (ป.). - กทลี
หมายถึง กล้วย (ป.) อย่างว่า เจ้าผู้คีงเหลืองล้ำกทลีกล้วยบ่ม (สังข์). - กน
หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน หรือ มาตรากน. - กนก
หมายถึง ทองคำ (ป.) - กนิษฐภคินี
หมายถึง น้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์). - กนิษฐภาดา
หมายถึง น้อง คู่กับเชษฐาพี่ เรียกขนิษฐาก็มี. - กนโก
หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบอ่อนใช้เป็นผักกินได้ ก้นโก ก็ว่า อย่างว่า เฮี้ยมนี้เป็นดั่งตาลปลายด้วนกนโกอยู่กลางท่งฮากบ่เหลือเครือบ่เกี้ยวโทนโท้อยู่แต่ลำคันเครือขิกบ่มาเกี้ยวใบ เครือหวายบ่มาเกี้ยวก้าน ตาลต้นส่วนอยู่พลอย แท้แล้ว(ผญา). - กบ
หมายถึง 1.)ชื่ออักษรที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ. 2.)สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ได้ในน้ำหรือบนบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งน้ำครึ่งบก เรียก กบ มีหลายชนิด อย่างว่าพี่นี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้(ผญา) . 3.)เครื่องมือช่างไม้ ทำด้วยเหล็กมีรางทำด้วยไม้ สำหรับใสไม้ให้เรียบ มีหลายชนิด เช่น กบสั้น กบยาว กบฮ่อง เป็นต้น. - กบกินตะเวน
หมายถึง การเกิดสุริยุปราคา - กบกินเดือน
หมายถึง จันทรุปราคา - กบฎ
หมายถึง การประทุษร้ายต่อบ้านเมือง, ความทรยศ, ผู้ทรยศ ขบถ ก็ว่า (ส.). - กบาล
หมายถึง กะโหลกศีรษะ,กระเบื้อง(ป.ส.กปาล) หัว (ข.) เช่น เขกกบาล เรียก เขกหัว. - กบินทร์
หมายถึง พญาลิง กเบนทร์ ก็ว่า (ส.). - กบิล
หมายถึง 1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์). - กบิลพัสดุ์
หมายถึง ชื่อเมืองหนึ่งในอินเดียเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประสูติ อย่างว่า แล้วจิ่งกลับคืนห้องเมืองกบิลบ้านเก่าหวังชิโผดพ่อเจ้าชาวเชื้อศากยา พอเมื่อพระพ่อฮู้เรื่องข่าวการเสด็จแล้วจิ่งพากันจัดฮับฮองพระองค์เจ้า (เวส-กลอน)ใ - กบี่
หมายถึง ลิง (ป.ส. กปิ). - กปณ|กปณา
หมายถึง กำพร้า,อนาถา,ไร้ญาติ,ยากไร้ (ป.). - กปิ
หมายถึง ลิง (ป.ส.). - กม
หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ม สะกด เรียก แม่กม หรือ มาตรากม. - กมล
หมายถึง บัว, ดอกบัว, ดวงใจ (ป.). - กมลากร
หมายถึง สระบัว (ป.). - กมลาสน์
หมายถึง ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือพระพรหม (ป.ส.).