ภาษาอีสาน หมวด จ
รวมภาษาอีสาน หมวด จ
ภาษาอีสาน หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- จตุโลกบาล
หมายถึง ผู้รักษาโลกในสี่ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ รักษาโลกในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก รักษาโลกทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาโลกในทางทิศเหนือ (ป.). - จอก
หมายถึง แก้วน้ำ - จอกน้ำ
หมายถึง แก้วน้ำ - จอบเบิ่ง
หมายถึง แอบดู - จอมเมือง
หมายถึง นางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์). - จะของ
หมายถึง ตัวเอง - จัก (กี่)
หมายถึง กี่ - จัก (ไม่รู้)
หมายถึง ไม่รู้จัก - จักบาท (เงิน)
หมายถึง เงินกี่บาท - จักว่าหยังเป็นหยัง
หมายถึง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร - จักสิไปบ่ไป
หมายถึง ไม่รู้ว่าจะไป หรือ ไม่ไป - จักหน่อย
หมายถึง เล็กน้อย,อีกสักพัก - จักเทื่อ
หมายถึง สักครั้ง - จักแหล่ว
หมายถึง ไม่รู้สิ - จังได๋
หมายถึง แบบไหน,ยังไง - จังไฮ
หมายถึง จังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์). - จัดส้วม
หมายถึง จัดห้องนอน - จัตุโลกบาล
หมายถึง ผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ (ป.). - จับจูด
หมายถึง เริ่มแบบไม่ได้ตั้งตัว , หรือไม่ได้ซ้อมกันมาก่อน ,ไม่ได้ตั้งตัว เป็นต้น - จั่ง
หมายถึง ถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น. - จั๊กกะเดียม
หมายถึง จั๊กกะจี้ - จาวขาย
หมายถึง ประกาศขาย - จาฮีต
หมายถึง เป็นคำยืนยันถึงความจริง,แน่นอน - จำปอก
หมายถึง มิดด้าม,สุด - จิดหลูดล้ม
หมายถึง ใจหวิวแทบจะล้ม - จี่
หมายถึง ปิ้ง,ย่าง - จืนน้ำมัน
หมายถึง ทอดน้ำมัน - จือ
หมายถึง จำ,เข็ด - จื้น
หมายถึง แฉะ - จุมพิต
หมายถึง จูบ จูบด้วยปาก (ป.ส.). - จ้อง
หมายถึง ร่ม สิ่งที่ใช้ป้องกันแดดหรือฝน - จ้อย
หมายถึง มาตราชั่งน้ำหนักของฝิ่น จ้อยหนึ่ง น้ำหนักเท่ากับสองกิโลกรัม. - จ้อยจ้อย (ดัง)
หมายถึง เสียงกลมกล่อมเพราะหู - เจวเวิว
หมายถึง สูงไม่มีใบ - เจ้า
หมายถึง เธอ, คุณ - เจ้าเมือง
หมายถึง เจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต). - แจบกระใจจิด
หมายถึง ไม่แน่ใจ - แจบใจ
หมายถึง มั่นใจ,สนิทใจ - แจวแหววสูงเจิ้นเทิ้น
หมายถึง สูงเรียวๆเหมือนไม่ไผ่ - โจงโปง
หมายถึง โล่ง,ว่างเปล่า - โจรกรรม
หมายถึง การลัก การขโมย การปล้น (ป.ส.). - ใจออก
หมายถึง ถอดใจ,ท้อถอย - ใจฮ่มฮ่ม
หมายถึง ใจเย็นเย็น - ใจฮ้าย
หมายถึง โกรธ,โมโห - ใจเมือง
หมายถึง นางกษัตริย์ เรียก ใจเมือง อย่างว่า มีท่อเยาวยอดแก้วเป็นมิ่งใจเมือง นางลุนมีแม่เดียวเทียมท้าว ปรากฏแก้วสุมุณฑาธรงฮูป โฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์). - ไจ
หมายถึง ด้ายที่ปั่นเต็มไนแล้วเก็บออกมาเรียกฝ้ายหนึ่งไจ สิบไจเท่ากับหนึ่งปอย. กรอง เกรอะ ต้มปลาร้าแล้วกรองเอาแต่น้ำ เรียก ไจปลาแดก เกรอะปลาแดก เตอะปลาแดก ก็ว่า. - ไจ้
หมายถึง ชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า. - ไจ้ไจ้
หมายถึง บ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).