ค้นเจอ 26 รายการ

ปะ

หมายถึงปล่อยทิ้ง

ไถเผือ

หมายถึงข้า ทาส อย่างว่า กับทังบริวารพร้อมไถเผือพอหมื่น (ฮุ่ง).

เคิ่ง

หมายถึงครึ่ง กึ่ง ส่วนหนึ่งในสองส่วน เรียก เคิ่ง เคิ่งหนึ่ง ก็ว่า อย่างว่า ข้าจักให้เคิ่งหนึ่งแต่เจ้าทังสอง (เวส).

กก

หมายถึงต้นกก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นผือ ใช้ทอเสื่อ เสื่อที่ทอด้วยกกสวยกว่า เพราะต้นกกลำเล็ก อย่างว่า สาดต่ำผือบ่งามบ่จบ สาดต่ำกกทังจบทังงาม (บ.)

หน้าถั่งดังคม

หมายถึงหน้าตาคมขำ, หน้าตาดี

ก้นขี้ถั่ง

หมายถึงก้นกระแทก, ล้มลงก้นกระแทกกับพื้น

วัปปะ

หมายถึงการหว่านพืช (ป.).

ไท

หมายถึงพวก หมู่ เหล่า อย่างว่า จงใจหอมไพร่ไททังค้าย (สังข์) ไทไกลนี้เจงเวงน้ำแจ่วข่า บ่ท่อใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง (ภาษิต).

ไกสร (สิงโต)

หมายถึงสิงโต สิงโตเรียก ไกสร อย่างว่า แม้นว่าสัพพะสิ่งช้างเดียระดาษแสนสัตว์ ไกสรสีห์ซู่คณาเนืองเฝ้า เสือสางเหม้นเหมือยหมีหมาป่าก็มา ลิงวอนเต้นโตนค้างค่างชะนี ฯ เห็นทังนิโครธไม้พันพุ่งไพรขวาง เห็นทังคูหาแก้วไกสรแสนส่ำ เฮืองฮุ่งเข้มไขพ้นพุ่งโพยม (สังข์).

กปณ|กปณา

หมายถึงกำพร้า,อนาถา,ไร้ญาติ,ยากไร้ (ป.).

ปฐมกรรม

หมายถึงชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน.

ขี้เจียม

หมายถึงจิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ