ค้นเจอ 21 รายการ

นิรโทษกรรม

หมายถึงการยกโทษให้ผู้ทำผิดไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย.

กนโก

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบอ่อนใช้เป็นผักกินได้ ก้นโก ก็ว่า อย่างว่า เฮี้ยมนี้เป็นดั่งตาลปลายด้วนกนโกอยู่กลางท่งฮากบ่เหลือเครือบ่เกี้ยวโทนโท้อยู่แต่ลำคันเครือขิกบ่มาเกี้ยวใบ เครือหวายบ่มาเกี้ยวก้าน ตาลต้นส่วนอยู่พลอย แท้แล้ว(ผญา).

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

กรอง

หมายถึง1.)แยกของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น ใช้ผ้ากรองน้ำที่สกปรกให้สะอาด หรือกรองเหล้าโทด้วยผ้าขาว เรียก กรอง ตอง ก็ว่า. 2.)ตรึกตรอง เช่นคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เรียก กรอง ตอง ก็ว่า อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม้นพังจั่งส้างโชด เพม้างตั้งแต่ดน (กลอน)

ไป่

หมายถึงไม่ ไม่มีเรียก ไป่มี อย่างว่า ท่อไป่มีเผ่าเชื้อพระเยียยอดเทวี เป็นพระยาโทนอยู่เนานอนแล้ง (สังข์).

ผีเฮือน

หมายถึงโบราณอีสานกล่าวว่า เฮือนมีผี กฏีมีพระ ผีเฮือนโบราณหมายถึงพ่อแม่ พ่อแม่มีหน้าที่และอำนาจสูงสุดภายในเรือน จะให้คุณและให้โทษแก่คนภายในบ้านเรือนอย่างไรก็ได้ พ่อแม่จึงเปรียบเสมือนเป็นผีเฮือน หากพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ คนภายนอกคือผีป่าจะมาแทรกแซง ทำให้พ่อแม่ลูกแตกเจ็บจากกัน.

อกุศลกรรม

หมายถึงความชั่วร้าย โทษ บาป (ป. อกุสลกมฺม).

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

กรน

หมายถึงหายใจเสียงดังในลำคอเมื่อเวลานอนหลับ เรียก กรน อย่างว่า ฟังยินเสียงกรนก้องคุงบนคีคื่น (กา) เมื่อนั้นยักษ์ใหญ่ฮู้นางเคียดคุงใจ มันก็โลมนางหลับแค่ปรางค์ดอมน้อง ฟังยินเสียงกรนก้องพระมุณเทียรทีโทด คือคู่กุญชราชฮ้องเสียงก้องคั่งบน แท้แล้ว (สังข์).

ขอขมา

หมายถึงขอโทษ,ขอโทษจากผู้ใหญ่บางครั่งต้องมีดอกไม้ธูปเทียน

เสโท

หมายถึงเหงื่อ

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ